การลงทุนการวิเคราะห์ทางเทคนิค

การใช้ MACD เพื่อดูโมเมนตัมและแนวโน้มของราคาหุ้น

เราใช้ MACD ในการดูเทรนด์และโมเมนตัมของหุ้นโดยดูว่าราคาที่ขึ้นหรือลงนั้นมีกำลังแค่ไหน รวมทั้งดูสัญญาณเตือนให้ระวังว่าแนวโน้มของเทรนด์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในไม่ช้า บทความนี้จะแสดงวิธีการใช้และข้อจำกัดของ MACD

MACD คืออะไร?

MACD ย่อมาจาก Moving Average Convergence/Divergence ประกอบไปด้วยเส้น MACD และเส้น Signal Line โดยเส้น MACD จะมีวิธีคำนวนโดยการนำเส้นค่าเฉลี่ย EMA 12 วัน มาลบกับ 26 วัน และเส้น Signal Line เราจะใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA  9 วันของ MACD (ใครอยากรู้วิธีคำนวนอย่างละเอียดลอง search google ดูมีอธิบายหลายเว็บ) ในบทความนี้จะเน้นในส่วนของวิธีการใช้งาน เรามาดูรูปตัวอย่างกัน

จากรูปเส้นสีขาวคือเส้น MACD ส่วนเส้นสีฟ้าคือเส้น Signal วิธีดูสัญญาซื้อขายที่นิยมกันก็คือให้ดูการตัดกันระหว่างเส้น MACD กับเส้น Signal ถ้าเส้น MACD ตัดเส้น Signal ลงมาจะถือเป็นสัญญาณขาย แต่ถ้าเส้น MACD ตัดเส้น Signal ขึ้นไปจะเป็นสัญญาณซื้อ (ซึ่งการดูวิธีนี้อาจจะเหมาะกับช่วงที่หุ้นมีเทรนขึ้นหรือลงชัดเจนมากกว่า เพราะถ้าตอนตลาดเป็น sideway เส้นอาจจะตัดขึ้นหรือลงบ่อยเกินไป) และยังมีเส้นที่ต้องดูอีกเส้นเรียกว่า Center Line (ในรูปข้างบนคือเส้นประ) ซึ่งจะมีค่าเป็น 0 โดยถ้าเส้น MACD มีค่าเป็นบวก (อยู่เหนือ Center Line) หมายความว่าหุ้นอาจมีแนวโน้มที่จะขึ้นต่อ แต่ถ้า MACD มีค่าเป็นลบ (อยู่ใต้ Center Line) ก็แสดงว่าหุ้นอาจมีแนวโน้มที่จะยังลงต่อ ทั้งนี้อาจจะต้องดูควบคู่ไปกับปัจจัยพื้นฐานในช่วงนั้นด้วยเพื่อให้แน่ใจมากยิ่งขึ้น เพราะเราไม่อาจใช้ MACD เพียงอย่างเดียวในการตัดสินใจซื้อหรือขายได้

นอกจากนี้ยังเราสามารถดูได้ว่าราคาหุ้น (หรือดัชนี) เมื่อเทียบกับตัว MACD แล้ว มันเคลื่อนไหวสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้า MACD กับราคาหุ้นเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกันเราจะเรียกว่า MACD เกิด Divergence ลองดูรูปต่อไป

ภาพข้างบนนี้แสดงการเคลื่อนไหวของดัชนี SET Index ช่วงปี 57 สังเกตว่าดัชนีวิ่งมาทำจุดสูงสุดราวๆเดือนกันยายนปี 57 แต่ว่า MACD กลับลดลงมาเรื่อยๆ และไม่สามารถสร้างยอดที่สูงกว่าเดิมได้ ถ้าเห็นแบบนี้นักลงทุนควรจะต้อง “ระวัง” ไว้ก่อนและอย่าทุ่มสุดตัว เพราะว่าดัชนีอาจจะไม่มีกำลังพอที่จะขึ้นสูงกว่านี้ได้มากนักเนื่องจาก MACD แสดง momentum ที่ลดลงเรื่อยๆ (เราอาจจะต้องเช็คปัจจัยพื้นฐานในช่วงนั้นประกอบด้วยด้วยว่าหุ้นแพงมากหรือยัง ค่า P/E ของตลาดเป็นเช่นไร) หลังจากนั้นดัชนีมีการปรับฐานย่อยๆช่วงต้นเดือนตุลาคม และพยายามประคองตัวขึ้นไปได้อีกซักพักจนขึ้นไปทดสอบบริเวณแนวต้านเดิมแต่ไม่ผ่านจนในที่สุดก็ลงมาปรับฐานอย่างรุนแรงช่วงราวๆเดือนธันวาคมปี 57 สังเกตว่ายอดของ MACD (คล้ายๆภูเขา) ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นมาจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคมในขณะที่กราฟแท่งเทียนของ SET ยังไม่ทำ lower low จากรูปข้างบนนี้ถ้าเราสังเกตดีๆ จะเห็นสัญญาณหลายอย่างที่เตือนให้ต้องระวังอย่างมากในช่วงต้นเดือนธันวาคม ตั้งแต่การที่ดัชนีวิ่งไปใกล้ๆแนวต้านเดิมซึ่งอาจต้องเผชิญกับแรงขาย โมเมนตัมของ MACD ยังลดลงเรื่อยๆ เส้น MACD ตัดเส้น Singal ลงไป และค่า P/E ของ SET ที่ไม่ได้ถูก (ตอนนั้น P/E ของ SET อยู่ที่ราวๆ 18 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย)

สรุปข้อจำกัดและข้อแนะนำอื่นๆเกี่ยวกับ MACD

  • ควรใช้ MACD ร่วมกับ indicator ตัวอื่นๆ หรือใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ไม่ควรใช้ MACD อย่างเดียวในการตัดสินใจซื้อขาย
  • การดูสัญญาณ Divergence ของ MACD สามารถทำได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ถ้าราคาหุ้นกับ momentum ของ MACD เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน ให้ระวังว่าเทรนด์อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจมีปัจจัยที่กดดันเทรนด์ชั่วคราว
  • ถ้าตลาดเป็น sideway เส้น MACD อาจจะตัดเส้น Signal ขึ้นลงบ่อยๆ หรือเส้นอาจจะซ้อนกันไปมา ทำให้การใช้ MACD ไม่ได้ผล

SLOWRICH

Slowrich ทุกเรื่องธุรกิจ สร้างอาชีพ การลงทุน

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

Please consider supporting us by disabling your ad blocker