การลงทุนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

EPS หรือ “กำไรต่อหุ้น” สำคัญอย่างไร

มีคนเคยบอกว่า “เจ้ามือที่แท้จริงของหุ้นแต่ละตัวก็คือผลประกอบการของบริษัท” ซึ่งทางเราค่อนข้างเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ หุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการดีมีกำไรต่อหุ้นสูงขึ้นทุกๆปี ราคาของหุ้นก็มักจะขึ้นไปได้เรื่อยๆ ฉะนั้นก่อนซื้อหุ้นเราควรจะตรวจสอบ EPS หรือกำไรต่อหุ้นก่อนเสมอ

EPS คืออะไร?

EPS ย่อมาจาก Earning per Share คือ “กำไรต่อหุ้น” โดยมีวิธีการคำนวณคือนำ “กำไรสุทธิ” (Net Profit) ของทั้งปีที่บริษัททำได้มาหารด้วยจำนวนหุ้นของบริษัทที่ชำระแล้ว เช่น บริษัท A ปีนี้มีกำไรสุทธิ 50 ล้านบาท และบริษัทมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 300 ล้านหุ้น เท่ากับบริษัทมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.16 บาท (50,000,000 หาร 300,000,000) ในการเลือกซื้อหุ้นเราควรจะเลือกบริษัทที่มี EPS โตขึ้นทุกๆปี ซึ่งเราควรจะดูควบคู่กับ Net Profit (กำไรสุทธิ) ถ้ากำไรสุทธิของบริษัทโตติดต่อกันซัก 5 ปียิ่งดี เพราะมันจะสื่อว่ากิจการมีกำไรแข็งแกร่ง และถ้าแต่ละปีกำไรโตโดยเฉลี่ยอย่างน้อยซัก 20% หุ้นตัวนั้นก็จะถือว่าเป็นหุ้นประเภท Growth Stock (หุ้นเติบโต) ซึ่งทางเราจะเขียนถึงการจำแนกประเภทของหุ้นโดยละเอียดในบทความถัดๆไป

การรู้จักแบ่งแยกว่าประเภทของหุ้นที่เราจะซื้อจัดเป็นหุ้นประเภทไหนนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการคาดหวังผลตอบแทนคร่าวๆ และคาดคะเนวัฎจักรของหุ้นตัวนั้นๆในภาพรวม โดยส่วนใหญ่แล้วหุ้นที่กำไรโตมากๆ ราคาหุ้นก็มักจะขึ้นไปมากกว่าหุ้นประเภทอื่นๆ จนกว่าอัตราการเติบโตของกำไรจะลดน้อยลง ส่วนหุ้นของบางบริษัทที่มีกำไรไม่สม่ำเสมอเช่นบางปีมีขาดทุนสลับกับกำไรเอาแน่เอานอนไม่ได้ ถ้าจะซื้อหุ้นประเภทนี้เราก็ต้องวิเคราะห์ว่าบริษัทมี story อะไรที่จะทำให้กิจการกลับมามีกำไรหรือไม่ ถ้ามีเหตุการณ์ที่กลับมาทำให้กำไรได้จริงราคาหุ้นก็มักจะขึ้นไปได้อย่างรุนแรง หุ้นพวกนี้จะจัดอยู่ในประเภทหุ้น Turn Around แต่ถ้าหุ้นของบริษัทที่ขาดทุนซ้ำซากติดต่อกันมาหลายปีและไม่มีวี่แววที่กิจการจะดีขึ้น ก็ขอแนะนำว่าเราอย่ายุ่งกับหุ้นพวกนี้ดีกว่า

ในบางกรณีหลายๆบริษัทเมื่อดำเนินกิจการไปได้ซักระยะหนึ่ง ก็อาจจะมีการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการซึ่งจะทำให้มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นและทำให้ EPS ลดลง (เพราะจำนวนหุ้นที่นำมาหารเพิ่มขึ้น)  ถ้ากิจการยังมีกำไรสุทธิโตขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องหน้าหนักใจอะไรโดยเฉพาะถ้าการเพิ่มทุนนั้นทำให้บริษัทกำไรมากขึ้นกว่าสัดส่วนที่เพิ่มทุน แต่ถ้ากิจการเริ่มส่อแววว่าอาจจะไม่เติบโต หรือมีเหตุมากระทบปัจจัยพื้นฐานของบริษัทเราก็อาจจะต้องระวังและพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วครับว่าควรจะถือหุ้นตัวนั้นต่อไหม

เราจะสามารถหาข้อมูล EPS ของหุ้นแต่ละตัวได้จากเว็บ set.or.th รูปข้างล่างแสดงผลประกอบการสำคัญของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ กำไรต่อหุ้น (EPS) ย้อนหลังสี่ปี ระหว่างปี 2560 – 2563




SLOWRICH

Slowrich ทุกเรื่องธุรกิจ สร้างอาชีพ การลงทุน

Related Articles

Back to top button

Adblock Detected

Please consider supporting us by disabling your ad blocker