รู้จักกองทุน SSF, RMF สำหรับออมเงินระยะยาว และลดหย่อนภาษี
สำหรับผู้ที่ต้องการหาวิธีลดหย่อนภาษี และออมเงินเพื่อความมั่งคั่งในระยะยาว โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารการลงทุนด้วยตนเอง คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการลงทุนในกองทุน SSF และ RMF อีกแล้ว
การลงทุนใน SSF หรือ RMF นั้นกำไรที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไม่ต้องเสียภาษี และมีสิ่งที่ต่างจากกองทุนทั่วไป คือ เงินที่ลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ นอกจากนี้เราสามารถเลือกซื้อกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เหมาะกับสใตล์การลงทุนของเราได้ เช่น ถ้าเรารับความเสี่ยงได้สูง และอยากได้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในตลาดหุ้นไทย และต่างประเทศ แต่ถ้ารับความเสี่ยงไม่ได้มากนัก ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่เน้นตราสารหนี้ หรือกองทุนแบบผสมผสานที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง
ความแตกต่างระหว่าง SSF กับ RMF
SSF (Super Savings Fund) คือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว เปิดตัวเมื่อปี 2563 (โดยกองทุน SSF นั้นมาแทนกองทุนเก่าแก่อย่าง LTF ที่หมดอายุไปในปี 2562) ผู้ลงทุน SSF ต้องถือให้ครบ 10 ปี นับจากวันแรกที่ซื้อกองทุน แต่ไม่จำเป็นต้องซื้อติดต่อกันทุกปี โดยที่ถ้าเราอยากได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีในปีไหน เราก็สามารถทำการซื้อในปีนั้นได้ เราสามารถซื้อ SSF ได้เต็มที่ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
RMF (Retirement Mutual Fund) คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนมีเงินออมใว้ใช้ยามเกษียณ ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีจนอายุครบ 55 ปี และต้องถืออย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน ถึงจะมีสิทธิ์ขายกองทุนคืน (สามารถสลับเปลี่ยนกองทุน RMF ได้ ไม่ต้องซื้อกองเดิมทุกปี) โดยเราสามารถซื้อกองทุน RMF ได้เต็มที่ 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี กองทุน RMF สามารถซื้อทุกปีหรือปีเว้นปีก็ได้ แต่ถ้าผิดเงื่อนไขจากนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายและโดนภาษีย้อนหลัง
เปรียบเทียบรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ระหว่างกองทุน SSF และ RMF
เงื่อนไข | กองทุน SSF | กองทุน RMF |
% ลดหย่อน | 30% ของเงินได้พึงประเมิน | 30% ของเงินได้พึงประเมิน |
วงเงินลดหย่อนสูงสุด | 200,000 บาท * | 500,000 บาท * |
ระยะเวลาถือครอง | 10 ปี (นับจากวันที่ซื้อ) | 5 ปี (ซื้อต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี) |
นโยบายการลงทุน | ลงทุนได้ทุกสินทรัพย์ | ลงทุนได้ทุกสินทรัพย์ |
ปีที่ใช้สิทธิลดหย่อนได้ | ปี 2563 – 2567 | ปี 2563 เป็นต้นไป |
เงินลงทุนขั้นต่ำ | ไม่กำหนด | ไม่กำหนด |
หมายเหตุ: * การซื้อ RMF, SSF, PVD, กบข. กอช. และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
เลือกกองทุน SSF หรือ RMF ดี?
การจะเลือกว่าลงทุนในกองทุนประเภทใดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการลงทุน แต่หากอายุยังไม่ถึง 45 การเลือก SSF ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เพราะเราสามารถขายหน่อยลงทุนได้ก่อนอายุ 55 (เว้นแต่ว่าเราอยากลงทุนระยะยาวเพื่อการออมหลังเกษียณ) ส่วนกองทุน SSF ถ้าผู้ลงทุนถือครบ 10 ปี สามารถขายกองทุนได้เลย ไม่ต้องรอตอนอายุ 55 เหมือน RMF
แต่หากเราเริ่มซื้อกองทุน RMF ตอนอายุ 50 ปี เราก็สามารถขายได้ตอนอายุ 55 ปี แต่ถ้าเริ่มซื้อตอนอายุ 40 ก็จะขายได้ตอน 55 เช่นกัน ยิ่งเริ่มซื้อตอนอายุยังน้อย ก็ทำให้เราต้องใช้เวลาในการถือกองทุนนานกว่าปกติ อย่างไรก็ตามจากสถิติการลงทุนในอดีตที่ผ่านมาไม่ว่าจะในประเทศหรือระดับโลก การลงทุนยิ่งระยะยาวขึ้นเท่าไหร่ก็สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้สูง ทั้งยังลดความเสี่ยงจากความผันผวนได้มาก ฉะนั้นการถือหน่วยลงทุนเป็นระยะเวลายาวนานมากเกินสิบปี ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด ถ้าเรามีสภาพคล่องและยังมีรายได้เข้ามาอยู่สม่ำเสมอ
นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงค่าธรรมเนียม ผลงานที่ผ่านมา และนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆของแต่ละกองทุนเปรียบเทียบกัน โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือชี้ชวนของกองทุนต่างๆ
สรุปข้อมูลกองทุน SSF ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึง 13 ส.ค. 64
# | ชื่อย่อกองทุน | ผลตอบแทน ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึง 13 ส.ค.64 |
ผลตอบแทน 1 ปี |
1 | ASP-SME-SSF | 27.03% | 42.49% |
2 | TSF-SSF | 22.89% | -% |
3 | TISCOMS-SSF | 21.45% | -% |
4 | LHSMARTDSSF-SSFX | 19.71% | 26.40% |
5 | LHSMARTDSSF-SSF | 19.60% | 26.12% |
6 | I-SEQS-DSSF | 18.15% | 17.40% |
7 | I-SEQS-ASSF | 18.15% | 17.39% |
8 | TEG-SSF | 12.52% | 22.60% |
9 | LHSTRATEGY-DSSF | 10.28% | 1.20% |
10 | LHSTRATEGY-ASSF | 10.17% | 10.49% |
สรุปข้อมูลกองทุน RMF ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึง 13 ส.ค. 64
# | ชื่อย่อกองทุน | ผลตอบแทน ตั้งแต่ต้นปี 64 ถึง 13 ส.ค.64 |
ผลตอบแทน 1 ปี |
ผลตอบแทน 3 ปี (% ต่อปี) |
1 | KMSRMF | 26.53% | 35.32% | 3.77% |
2 | KFDNMRMF | 25.37% | 27.46% | -% |
3 | B-SM-RMF | 22.01% | 32.39% | 2.93% |
4 | TMSRMF-A | 20.07% | 28.95% | 9.29% |
5 | ASP-ERF | 16.07% | 24.23% | 7.03% |
6 | ASP-MRF | 13.89% | 15.88% | 1.22% |
7 | KTSE-RMF | 13.44% | 13.78% | -1.50% |
8 | I-EQRMF | 13.39% | 5.88% | -3.82% |
9 | B-ASEANRMF | 12.65% | 27.76% | 0.99% |
10 | TEGRMF-A | 12.55% | 22.60% | 1.08% |
ที่มาข้อมูล: